วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

096 สุทธิวัฒน์

Design Brief

1. Problem การรับประทานอาหาร junk food และโรคอ้วนถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ดูจริงจังและเป็นทางการจนเกินไป ทำให้เกิดความจำเจ และไม่น่าสนใจ อีกทั้งปััญหาโรคอ้วนที่มาจากการรับประทานอาหาร junk food , fast food ยังคงอยู่คู่กับยุคสมัยแห่งความรวดเร็ว และพัฒนาไปพร้อมกับยุคสมัย ยิ่มมีความสะดวกสบาย มีเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ความอ้วนก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

2. Objective เพื่อนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารจำพวก junk food และปัญหาโรคอ้วน ในรูปแบบหนังสือที่มีภาพประกอบสนุกสนาน กวนๆ แต่อ่านแล้วฉุกคิดถึงปัญหา

3. Target Group
-Demographic นักเรียน นักศึกษา อายุ 16-25 ผู้ที่ทั้งอ้วนและไม่อ้วน กำลังลดความอ้วนและไม่ลดความอ้วน จะอยากลดความอ้วนและไม่อยากลดความอ้วน
-Psycographic ชอบทานอาหาร junk food สนใจเรื่อการกิน สนใจเรื่องสุขภาพ

4. key massage Junk food, fast food อ้วนง่าย ร่างกายแย่

5. สนุกสนาน กวนๆ ซนๆ มันๆ

ขั้นตอนการทำงาน
1) เริ่มจากการหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองสนใจและต้องการทำ ซึ่งได้ข้อสรุปหัวข้อในการทำงานคือ เรื่องความอ้วนกับการกิน และต้องการนำเสนอออกมาในรูปแบบของหนังสือภาพที่สนุกสนาน

2) ทำการหาข้อมูลเพิ่มขึ้นในส่วนของเนื้อหา พร้อมทั้งหาตัวอย่างภาพประกอบและรูปแบบหนังสือในแบบที่ต้องการทำ

3) ได้เนื้อหาและตัวอย่างจากหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือจากสำนักงานกองทุนสนัยสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ เป็นหนังสือขนาด A5 ซึ่งเป็นขนาดพอเหมาะ จึงเลือกที่จะทำหนังสือขนาด A5

5) นำข้อมูลและเนื้อหาที่รวบรวมมา คัดเลือกและเรียบเรียงเพื่อให้หนังสือเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องกันตลอดทั้งเล่ม โดยเริ่มแบ่ง
เนื้อหาในแต่ล่ะหน้า เมื่อได้แบ่งเนื้อหาทั้งหมดแล้วจึงคิดภาพประกอบเพื่อให้สัมพันธ์กับเนื้อหาในแต่ละหน้า

6) สเ็ก็ตภาพประกอบคร่าวๆ นำเสนอกับอาจารย์ โดยอาจารย์ให้คำแนะนำให้กลับไปแก้ไขให้ในแต่ละภาพมีเนื้อหา เรื่องราวมากขึ้น

7) ปรับแก้ไขงาน โดยทดลองทำภาพประกอบด้วยวิธีทั้งการถ่ายรูปมารีทัช ผสมกับการ collage


8) อาจารย์ให้คำแนะนำในส่วนของเนื้อหาให้มีเรื่องราวมากขึ้น โดยการให้มีคนดำเนินเรื่องในแต่ละบท


9) ปรับปรุงแก้ไขในส่วนของภาพโดยให้มีคนดำเนินเรื่อง


10) พบปัญหาคือภาพส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้ดูน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจจึงทำการแก้ไขอีกครั้ง โดยทดลองวาดมือและนำไป

ปรับแต่งในโปรแกรม photoshop นำไปผสมกับการการีทัชและการcollage


11) ทดลองทำจนได้ภาพอย่างที่ต้องการ ใช้เวลาประมาณสามสัปดาห์ในการทำภาพประกอบ


12) เมื่อทำภาพประกอบเสร็จแล้วจึงนำมาจัดวางตัวอักษรในส่วนของเนื้อหา จนเสร็จสมบูรณ์


















สรุปผลการทำงาน

สำหรับการออกแบบหนังสือในครั้ง ถือได้ว่าได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน และได้ทดลองทำภาพประกอบที่ไม่เคยได้ทำมาก่อน ซึ่งในช่วงแรกของการทำก็มีความล่าช้า และต้องใช้เวลาในการเรียนรู้พอสมควร ความลำบากในการที่จะต้องจัดการกับภาพหลายๆแบบทั้งภาพที่วาดด้วยมือภาพถ่าย ภาพที่หามาจากเว็บไซต์ ซึ่งต้องนำมาปรับตกแต่งให้เข้าักัน เพราะลำพังเพียงแค่ภาพประกอบที่ต้องวาดมือก็ใช้เวลาอยู่พอสมควร แต่ก็รู้สึกสนุกขณะกำลังทำงานในแบบที่ไม่เคยทำ ถือเป็นการทดลองที่สนุกครับ และคิดว่างานที่มีลายเส้นแบบวาดมือมันมีความเป็นธรรมชาติ และอยากลองทำต่อไป

ผลที่ได้จากงานนี้
1. ได้เรียนรู้และทดลองทำภาพประกอบในแบบที่ไม่เคยทำ
2. ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความอ้วนและอาหารขยะ
3. ฝึกฝนการจัดหน้าหนังสือ
4. เรียนรู้ขั้นตอนในการออกแบบหนังสือ

ปัญหาและอุปสรรค
1. ต้องใช้เวลาในการทดลองทำภาพประกอบ
2. ต้องจัดการกับไฟล์ภาพที่หลากหลาย ทั้งภาพที่วาดมือ ภายที่ถ่ายเอง และภาพจากเว็บไซต์ ต้องมาตกแต่งให้เข้ากัน
3. ระยะเวลาจากการทำงานหลายๆวิชาส่งผลทำให้เวลาที่ทำน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น