วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

088 Rabrabhi

Thai Food Material Alphabets

โครงการออกแบบตัวอักษรจากเครื่องปรุงอาหารไทย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปร่าง รูปทรง และลักษณะประกอบของเครื่องปรุงอาหารไทย อาทิเช่น พริก มะนาว และ เหง้าข่า ด้วยวิธีการขัดเกลาภาพถ่ายผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้รูปทรงที่สื่อสารถึงตัวอักษรภาษาอังกฤษที่มีความชัดเจนที่สุด

Design Brief

1. โจทย์ทางการออกแบบ (Problem)
โครงการออกแบบตัวอักษรจากเครื่องปรุงในอาหารไทย

2. วัตถุประสงค์ของการออกแบบ (Objective)
เพื่อสืบค้นข้อมูลวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารไทย รวมไปถึงศึกษาโครงสร้าง รูปร่างลักษณะของส่วน
ประกอบต่างๆ ที่สามารถสื่อสารเป็นตัวอักษรตามที่กำหนดไว้ และเพื่อฝึกทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการขัดเกลารูปภาพให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด

3. กลุ่มเป้าหมาย (Target Group)
กลุ่มนักออกแบบผู้สนใจงานออกแบบในลักษณะใหม่ๆ และกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจงานออกแบบ

4. แนวความคิด (Concept)
“Thai Food, English Alphabets”

5. ส่วนสนับสนุนแนวความคิด (Concept Support)
การผสมผสานของ 2 วัฒนธรรมเข้าด้วยกัน คือ การนำเครื่องปรุงอาหารไทยมาประยุกต์เป็นตัวอักษรตามแบบของภาษาอังกฤษ

6. การตอบสนองที่คาดหวังจากกลุ่มเป้าหมาย (Desired Response)
กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจในงานออกแบบ และก่อให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารูปแบบอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ในประเทศให้มีความทันสมัย น่าสนใจและเจริญก้าวหน้า ไม่แพ้งานออกแบบจากที่อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ค้นหาข้อมูลเครื่องปรุงอาหารไทย ว่ามีวตถุดิบใดบ้างที่สามารถสื่อสารถึงความเป็นอาหารไทยได้บ้าง
2. ค้นหาไฟล์ภาพวัตถุดิบตามที่ได้ระบุไว้
3. ศึกษาโครงสร้างของรูปทั้งหมดว่าชิ้นไหนสามารถเป็นตัวอักษรใดได้บ้าง
4. ขัดเกลาและเรียบเรียงไฟล์ภาพทั้งหมดให้เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
5. ปรับปรุงแก้ไขให้ผลงานทั้งหมดสื่อสารได้ชัดเจนที่สุด
6. ออกแบบเรขศิลป์ประกอบงาน และทำหนังสือประกอบงานออกแบบ

ผลงานจริง









สรุปผลการทำงาน
ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจกับภาพรวมของผลงานที่ออกมาทั้งหมด เนื่องจากงานที่ทำสื่อสารได้ตามจุดประสงค์
และตรงตาม Design Brief ที่ได้ตั้งไว้ และเป็นแนวทางในการพัฒนาผลงานชิ้นต่อๆ ไปให้ออกมาดีมากยิ่งขึ้น

ผลที่ได้จากงานนี้
1. เรียนรู้หลักการวิเคราะห์โครงสร้างของสิ่งของจากธรรมชาติให้เป็นตัวอักษรได้
2. ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ทำคือ เครื่องปรุงอาหารไทย มากขึ้น
3. รู้ว่าขั้นตอนการค้นหาข้อมูลเพื่อการสร้างงานเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องใช้เวลาพอสมควร
4. ฝึกทักษะการขัดเกลารูปลักษณ์เดิมของภาพให้เป็นรูปลักษณ์ตามที่ต้องการ
5. ได้รับทักษะการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับงาน และทำให้งานดูมีความน่าสนใจมากขึ้น

ปัญหาและอุปสรรค
1. การค้นหาภาพจากอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลามากและยากที่จะได้ภาพตามที่ต้องการ
2. ตัวอักษรบางตัวไม่ค่อยสื่อสารเมื่ออยู่โดดๆ เพียงตัวเดียว
3. ความละเอียดของไฟล์ภาพจากอินเตอร์เน็ตไม่เท่ากัน ทำให้งานดูไม่สม่ำเสมอเมื่ออยู่รวมกัน
4. ระยะเวลาในการออกแบบผลงานเร่งรัดพอสมควร ทำให้งานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น