วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

083_Design Brief

1. Problem :
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจและเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน แต่หนังสือเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ใช่ชาวเกษตรกรนั้น ยังมีน้อย
- ผู้คนยังเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของการเกษตรเท่านั้น
- หนังสือที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ยังเป็นในเชิงทฤษฎี มากกว่าในเชิงปฏิบัติ ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ และหนังสือไม่มีความน่าสนใจเท่าที่ควร
2. Objective :
- เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้ง่าย โดยผ่านทางภาพถ่าย และการออกแบบกราฟฟิกประกอบเรื่อง(หรือข้อความ) รวมถึงลูกเล่นต่างๆ ภายในหนังสือ

3. Target group :
- ชาย-หญิง อายุ 20-35 ปี
- กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ถึงวัยทำงาน
- อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ
- มีฐานะการเงินปานกลาง

4. Key Message :
- Balancing our life!! : ปรับการใช้ชีวิตให้สมดุล ไม่มากหรือน้อยเกินไป ไม่ฟุ่มเฟือย รวมถึงรู้จักแบ่งปันกับผู้อื่น

5. Mood & Tone :
- ทันสมัย กระชับ ได้ใจความ
----------------------------------------

Reference
ภาพถ่าย : เป็นแนว Candid เพื่อให้ได้ความเป็นธรรมชาติ และเห็นสภาพสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างชัดเจน





Grimmic : แทรกสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาลงไป อย่างเช่นในภาพ พูดถึงหางเครื่อง ก็มีการแทรกตุ๊กตากระดาษหางเครื่องของไทยลงไปในหนังสือด้วย เพื่อให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับหนังสือมากยิ่งขึ้น


Short message : เนื้อหาภายในเล่มจะเป็นภาพถ่าย ประกอบข้อความสั้นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย และไม่น่าเบื่อจนเกินไป



------------------------------------------------------------------------------------
เนื้อหาภายในเล่ม : แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ
Part 1 : สภาพสังคมในปัจจุบัน “เศรษฐกิจแบบทุนนิยม”
สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนในสังคมเมืองในยุคปัจจุบัน ที่ได้รับค่านิยมและวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามามากเกินไป จนเกินความพอดี ทำให้เกิดความอยากได้ อยากมี เพื่อการยอมรับในสังคม
- การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ
- อยากมีรถขับ
- อยากใช้ของ Brandname
- อยากมีบ้านหลังใหญ่ๆ
- มีเงินเดือนและตำแหน่งสูงๆ

Part 2 : “ตัวเรา”
ให้ย้อนกลับมามองที่ตัวเราเอง ว่าจริงๆแล้วความต้องการที่แท้จริงของเราคืออะไร? อะไรคือความพอดีและสมดุล? โดยนำเสนอให้เปลี่ยนมุมมองความคิด และเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ โดยเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน
- การสำรวจตัวเอง ว่าเรามีวิถีชีวิตอย่างอะไร? มีรายรับเท่าไหร่? รายจ่ายที่จำเป็นเท่าไหร่? อะไรที่จำเป็น? และอะไรคือสิ่งฟุ่มเฟือย?
- การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย : เพื่อให้รู้ว่าเราใช้เงินไปกับสิ่งฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นอะไรบ้าง เมื่อเห็นปัญหาแล้ว เราก็จะสามารถรู้และบริหารจัดการเงินของเราได้ต่อไป
- การบริหารจัดการเงิน : โดยแบ่งเงินแยกเป็นสัดส่วน สำหรับการใช้งาน เช่น แบ่ง 10% สำหรับการออม
- การปลูกผักสวนครัว : ผักสวนครัวสามารถปลูกได้ง่ายๆ แม้มีพื้นที่ไม่มาก เราก็สามารถรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ และทำให้เราได้อยู่กับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
- การทำกิจกรรมกับครอบครัว : เช่น การออกกำลังกายร่วมกัน การทำอาหารร่วมกัน ไปทำบุญร่วมกัน ไปสวนสาธารณะ เป็นต้น
- การใช้จักรยานแทนการใช้รถ : อาจจะเริ่มจากการปั่นจักรยานไปที่ใกล้ๆ เช่นไปซื้อของน่าปากซอย แทนการนั่งรถมอเตอร์ไซต์
- การใช้รถยนต์สาธารณะ : อาจจะเริ่มใช้รถสาธารณะในวันหยุด ที่ไม่เร่งรีบ สำรวจสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น
- การซ่อมแซมของที่ชำรุดหรือการประดิษฐ์สิ่งของการของเหลือใช้ : ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ดูเหมือนเป็นขยะเหล่านั้น เมื่อนำมาประดิษฐ์ และตกแต่ง ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ : ประดิษฐ์ของ DIY
- การทำความสะอาดบ้าน : การเก็บกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว
- การแยกขยะ : ประเภทขวด และกล่องนม โดยชี้ให้เห็นถึงช่องทางของการนำขยะนั้นไปรีไซเคิล

Part 3 : “สังคม”
เป็นการนำเสนอแง่มุมของคุณธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงการบริจาคของหรือการใช้เหลือเพื่อสังคมต่อไป
- ความมีน้ำใจต่อผู้อื่นในที่สาธารณะ : การลุกให้ผู้อื่นนั่งในรถสาธารณะ การช่วยคนชราหรือคนพิการ การเดินเข้าด้านในรถสาธารณะเพื่อให้ผู้อื่นสามารถขึ้นรถได้ ฯลฯ
- การบริจาคสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว ให้กับผู้ที่อยากไร้หรือขัดสน : ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเสื้อผ้า บริจาคกระดาษที่ใช้แล้วสำหรับคนตาบอด บริจาคเงินสำหรับมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น
- ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น